กลับไปที่จุดเริ่มต้น ความเป็นมาของ มือถือ ดีแทค

กลับไปที่จุดเริ่มต้น ความเป็นมาของ มือถือ ดีแทค

มือถือ ดีแทค ผู้ให้บริการโทรศัพท์มือถือ ดีแทค (dtac) หรือ ชื่อการค้าของบริษัทบริษัท โทเทิ่ล แอ็คเซ็ส คอมมูนิเคชั่น จำกัด (มหาชน) หรือTotal Access Communication Public Company Limited: TAC เป็นผู้ให้บริการเครือข่ายโทรศัพท์มือถือบริษัทหนึ่งในประเทศไทย เดิมเป็นบริษัทในเครือบริษัทโทรคมนาคม ยูคอม หรือ ยูไนเต็ดคอมมูนิเกชั่น อินดัสตรี แต่ ปัจจุบันได้มีการเปลี่ยนมือผู้ถือหุ้นรายใหญ่เป็น บีซีทีเอ็น โฮลดิง
ในช่วงแรก ผู้ให้บริการมือถือ ดีแทค ให้บริการในช่วงความถี่ 1800MHz เป็นระยะเวลา 27 ปี นับตั้งแต่เริ่มก่อตั้งในปี 2532 พร้อมทั้งให้บริการเครื่อข่ายความเร็ว 3 จี ในช่วงความถี่ 850MHz ตั้งแต่ปี 2532 และยังมีบริการ 3 จี ในช่วงความถี่ 2100MHz อีกด้วยโดยมี กสทช.เป็นผู้ออกใบอนุญาติมือถือ ดีแทคผู้ให้บริการโทรศัพท์มือถือ ดีแทค (dtac) หรือ ชื่อการค้าของบริษัทบริษัท โทเทิ่ล แอ็คเซ็ส คอมมูนิเคชั่น จำกัด (มหาชน) หรือTotal Access Communication Public Company Limited: TAC เป็นผู้ให้บริการเครือข่ายโทรศัพท์มือถือบริษัทหนึ่งในประเทศไทย เดิมเป็นบริษัทในเครือบริษัทโทรคมนาคม ยูคอม หรือ ยูไนเต็ดคอมมูนิเกชั่น อินดัสตรี แต่ ปัจจุบันได้มีการเปลี่ยนมือผู้ถือหุ้นรายใหญ่เป็น บีซีทีเอ็น โฮลดิง
ในช่วงแรก ผู้ให้บริการมือถือ ดีแทค ให้บริการในช่วงความถี่ 1800MHz เป็นระยะเวลา 27 ปี นับตั้งแต่เริ่มก่อตั้งในปี 2532 พร้อมทั้งให้บริการเครื่อข่ายความเร็ว 3 จี ในช่วงความถี่ 850MHz ตั้งแต่ปี 2532 และยังมีบริการ 3 จี ในช่วงความถี่ 2100MHz อีกด้วยโดยมี กสทช.เป็นผู้ออกใบอนุญาติ

ย้อนกลับไปตั้งแต่แรกเริ่ม ผู้ให้บริการสัญญาณโทรศัพท์ มือถือ ดีแทค เริ่มก่อร่างสร้างตัวในชื่อการค้า แทค(Total Access Communication) เมื่อปี พ.ศ. 2532 โดยเป็นการเข้ารับสัมปทาน เพื่อให้บริการเครือข่ายโทรศัพท์มือถือ ในช่วงความถี่ 850 และ 1800MHz จาก กสทช. โดยเป็นประเภท Build-Transfer-Operate ในเดือนพฤศจิกายน ปี 2533 ก่อนจะเข้าสู่ในตลาดหลักทรัพย์สิงคโปร์ ในเดือนตุลาคม ปี 2538
ก่อนจะมีการยืดสัญญากับ กสท. ในปี 2539 ไปจนถึง พ.ศ. 2561 หลังจากวิกฤตเศรษฐกิจ พ.ศ. 2540 หรือที่รู้จักกันในชื่อวิกฤตต้มยำกุ้ง ทางบริษัทแทคได้เริ่มต้นขายหุ้นบางส่วนให้กับเทเลนอร์ และเปลี่ยนชื่อทางการค้าจากเป็น “ดีแทค” ในเดือนมีนาคม ปี2544
โดยผู้ถือหุ้นใหญ่ในยูคอมซึ่งเป็นบริษัทแม่ของแทค ณ เวลานั้น ได้ขายหุ้นให้กับเทเลนอร์ในระหว่างปลายปี 2548จนกระทั่งเดือนเมษายน ปี 2555 ทางดีแทคได้มีการปรับโครงสร้างผู้ถือหุ้นใหม่ โดยมีบริษัทบีซีทีเอ็น โฮลดิ้ง ที่มีผู้ก่อตั้งดีแทคเป็นผู้บริหารอยู่ ถือหุ้นเพิ่มขึ้นจาก 10 เปอร์เซ็นต์ มาเป็นเป็น 51 เปอร์เซ็นต์ และกลุ่มเทเลนอร์เดิมถือหุ้นที่เหลืออีกร้อยละ 49 เพื่อลดข้อภาพลักษณ์การเป็นบริษัทต่างชาติ จึงทำให้ผู้ถือหุ้นรายใหญ่ในปัจจุบันของ ดีแทค คือ บีซีทีเอ็น โฮลดิ้ง อย่างที่ได้กล่าวไปในข้างต้น

การควบรวมกิจการมือถือ ดีแทค-ทรู และ อิมแพคที่จะเกิด

เมื่อไม่นานมานี้ ในเดือนพฤศจิกายน ปี พ.ศ. 2564 ที่ผ่านมา ได้มีการเผยแพร่บทความว่ากลุ่มเทเลนอร์ กำลังอยู่ในระหว่างการพูดคุยเพื่อควบรวมผู้ให้บริการเครือข่ายโทรศัพท์มือถือ ดีแทค โดยบริษัท ทรู คอร์ปอเรชั่น ซึ่งส่งผลให้ธุรกิจโทรคมนาคมประเทศไทยเหลือผู้ให้บริการที่แข่งขันกันเพียงสองราย ซึ่งภายหลัง ไม่นานจากที่มีเผยแพร่บทความดังกล่าว ทางบริษัททรูได้มีการส่งจดหมายขอให้รอความชัดเจนเรื่องการควบรวมกิจการก่อนที่จะแจ้งต่อตลาดหลักทรัพย์ต่อไป
จนกระทั่งวันที่ 22 พฤศจิกายน 2564 กลุ่มเทเลนอร์ ก็ได้มีการแถลงข่าวเรื่องการควบรวมกิจการระหว่างบริษัท ทรู คอร์ปอเรชั่น และ ดีแทค โดยกลุ่มเทเลนอร์ จะจัดตั้งบริษัทร่วมค้าขึ้น ชื่อว่า โฮลดิ้งคอมปานี และบริษัทนี้จะเสนอซื้อหุ้นทั้งหมดของ ทรู คอร์ปอเรชั่น และ ดีแทค โดยหลังจากการแลกเปลี่ยนจบลง ผู้ถือหุ้นของ ทรู และดีแทค จะถือหุ้นบริษัทนี้อย่างเท่าเทียมกัน หรือ Equal Partnership นั่นคือกลุ่มผู้ถือหุ้น ทรู จะถือหุ้น 58% และ ผู้ถือหุ้น ดีแทค กลุ่มเทเลนอร์ และบีทีซีเอ็น โฮลดิ้ง จะถือหุ้น 42%

เรียกได้ว่าการควบรวมกิจการครั้งนี้ เป็นการสร้างการแข่งขัน ทำให้บริษัทใหม่(แห่งนี้)สามารถแข่งขันในตลาดได้ และตอบสนองทุกความต้องการในการแข่งขันของธุรกิจการสื่อสาร การควบรวมกิจการยังคงดำเนินการเรื่อยมา จนกระทั่งเมื่อไม่นานมานี้ ในวันจันทร์ที่ 4 เมษายน ปี2565 บริษัทผู้ให้บริการเครื่อข่ายโทรศัพท์มือถือ ดีแทค ก็ได้มีมติในที่ประชุมให้อนุมัติการควบรวมกิจการกับบริษัท ทรู คอร์ปอเรชั่น

ผู้ให้บริการ มือถือ ดีแทค และ ทรู ประกาศการควบรวมกิจการของดีแทคกับทรู จากการประชุมผู้ถือหุ้น ครั้งที่ 1 ในปี 2565 ซึ่งนับได้ว่าเป็นก้าวสำคัญในการก่อตั้งบริษัทสื่อสารโทรคมนาคม ของประเทศไทย มีการนำเสนอบริการใหม่ๆเพื่อผู้ใช้บริการ และ ยังมีการฝึกฝนบุคคลากรเพื่อพัฒนาศักยภาพในการตอบรับความต้องการของผู้ใช้บริการในยุคใหม่
ทางด้านประธานเจ้าหน้าที่บริหารของดีแทค กล่าวว่า “บริษัทเทคโนโลยี-โทรคมนาคม จะนำเสนอบริการ 5G ด้วยคุณภาพเครือข่ายที่ครอบคลุมการใช้งาน ความน่าเชื่อถือ ความเร็ว ตลอดจนบริการที่เน้นคุณค่าพร้อมการดูแลลูกค้าที่ดีขึ้น ขอขอบคุณผู้ถือหุ้นที่ไว้วางใจอนุมัติการควบรวมกิจการครั้งนี้”
แผนธุรกิจของ บริษัทเทคโนโลยี-โทรคมนาคม มีเพื่อตอบสนองความต้องการของผู้ใช้บริการที่เพิ่มมากขึ้นไปพร้อมๆกับการควบคุมแผนภายใต้การเปลี่ยนแปลงของตลาดซึ่งเกิดขึ้นตลอดเวลา โดยมีเป้าหมายเพื่อยกระดับการให้บริการไปสู้การเป็นผู้นำโลกดิจิทัล โดยได้มีการนำการบริการที่ตอบรับความต้องการของลูกค้ามารวมกับเทคโนโ,ยีที่ล้ำสมัยเพื่อจำหน่ายผลิตภัณฑ์ที่ดียิ่งขึ้น”
ในระหว่าง กระบวนการควบรวมกิจการ ผู้ใช้บริการของมือถือ ดีแทคจะยังไม่ได้รับผลกระทบอะไร ลูกค้ายังคงสามารถซื้อสินค้าและบริการของทางดีแทค และใช้บริการของทางดีแทคได้เหมือนเช่นปกติ

บทสรุป มือถือ ดีแทค

ในส่วนของทางด้าน กรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท ทรู คอร์ปอเรชั่น จำกัด มหาชน ได้กล่าวว่า ในการประชุมผู้ถือหุ้น ปี 2565 ได้มีความคิดเห็นตรงกันเป็นมติให้เกิดการอนุมัติการควบรวมกิจการระหว่าง ทรู และ ดีแทค ทางบริษัทต้องขอขอบคุณผู้ถือหุ้นที่ไว้วางใจในศักยภาพและเข้าใจความมุ่งมั่นของทางบริษัท ที่ต้องการพัฒนาต่อยอดธุรกิจการสื่อสารและโทรคมนาคมไปสู่การเป็นบริษัทเทคโนโลยี เพื่อเพิ่มขีดความสามารถของการทำธุรกิจของบริษัทในขณะที่ตลาดโทรคมนาคมนั้นมีการเติบโตและเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลา โดยบริษัทเทคโนโลยีที่จะเกิดขึ้นใหม่จากการควบรวมนี้ จะเป็นผู้นำทั้งในเรื่องเครื่อข่ายการโทรคมนาคมและเทคโยโลยีแห่งอนาคตอีกด้วย ไม่ว่าจะเป็น เอไอ เทคโนโลยีการจัดเก็บข้อมูลแบบคลาวด์ สามาร์ทซีตี้ ไปจนถึง การศึกษาเทคโนโลยีด้านอวกาศ ตลอดจนการสร้างระบบนิเวศน์สำหรับคนทำธุรกิจภายในประเทศไทยรวมไปถึงธุรกิจสตาร์ทอัพอีกด้วย จะเป็นการสร้างประโยชน์ รวมไปถึง เพิ่มมูลค่าสูงสุด สำหรับผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย ทั้งยังเป็นการขับเคลื่อนการพัฒนาด้านเทคโนโลยีให้กับประเทศไทย ทั้งในด้านการสื่อสารและเทคโนโลยี เพื่อให้เป็นไปในแบบ Thailand 4.0
แต่อย่างไรก็ตาม การควบรวมกิจการครั้งนี้ ยังต้องผ่านการพิจารณาของหน่วยงานต่างๆที่เกี่ยวข้อง ตามขั้นตอนที่กฎหมายกำหนด โดยในระหว่างนี้ ทางเครือข่ายทรูก็จะยังให้บริการตามปกติ
นอกเหนือจากการอนุมัติการควบรวมกิจการโดยผู้ถือหุ้น การควบรวมกิจการยังต้องอยู่ภายใต้การตรวจสอบ และ แจ้ง หน่วยงานกำกับดูแล นั่นคือ สำนักงานคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ หรือ กสทช. ซึ่งทาง กสทช. ก็ได้รับแจ้งเมื่อวันที่ 25 มกราคม 2565 ถึงความต้องการของทรูในการควบรวมกิจการผู้ให้บริการเครือข่ายโทรศัพท์มือถือ ดีแทค

Credit by : Ufabet